ชิงยกร่างกม.แร่ภาคประชาชน รื้อความคิด "เอาใจแต่นักลงทุน" เน้นความรับผิดมากขึ้น

930 25 Oct 2012

วันที่ 27 ธ.ค. 2554                เวลา : 15:50 น.

ผู้เขียน : เบญจา ศิลารักษ์/สำนักข่าวประชาธรรม

แม้ว่าคณะรัฐมนตรีจะมีมติถอนร่างกฎหมายแร่ที่ยกร่างโดยกระทรวงอุตสาหกรรมไปแล้วตั้งแต่เดือนสิงหาคม 2553   ซึ่งมีเนื้อหาที่สนับสนุนและเอื้อให้กับกลุ่มทุนอุตสาหกรรมอย่างมากนั้น แต่ในความเป็นจริงการดำเนินการทางนโยบาย และผลักดันกฎหมายเพื่อเอื้อต่อการทำอุตสาหกรรมเหมืองแร่ในประเทศไทยนั้นก็ ยังคงมีความพยายามอย่างต่อเนื่องจากภาครัฐ และภาคอุตสาหกรรม ทั้งนี้ทั้งนั้นความพยายามผลักดันของทั้งภาครัฐ และภาคอุตสาหกรรมก็ยังคงเน้นไปที่การทำอุตหากรรมเหมืองแร่ออกมาใช้ในการ กระตุ้นเศรษฐกิจอย่างไร้ขีดจำกัด  และยังเอื้อประโยชน์ภาคอุตสาหกรรมเป็นด้านหลัก แต่ละเลยผลกระทบที่มีต่อคนท้องถิ่นในพื้นที่ที่มีการทำเหมือง ดัง นั้นเมื่อเร็วๆ นี้ในช่วงเดือนธันวาคมที่ผ่านมา เครือข่ายผู้ได้รับกระทบจากเหมืองแร่ทั้งที่อยู่ในเขตภาคเหนือ  และอีสานจึงร่วมกับมูลนิธิสถาบันศึกษาเพื่อสังคมที่เป็นธรรมยกร่างกฎหมายแร่ ภาคประชาชนขึ้นมา "ร่างพ.ร.บ.แร่ฉบับนี้จะเป็นเครื่องมือให้ชาวบ้านใช้ในการต่อสู้จากการ รุกรานทรัพยากร เพราะเป็นกม.ที่อ้างอิงจากสภาพความเป็นจริงของชาวบ้านเอง " ปัญญา โคตรเพชร  กลุ่มอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมอุดรธานี  หนึ่งในเครือข่ายชาวบ้านที่เข้าร่วมระดมความเห็นกับร่าง พ.ร.บ.แร่ภาคประชาชนให้เหตุผลที่เข้ามาร่วมผลักดันกม.ฉบับนี้ เวทีระดมความเห็นเพื่อยกร่างพ.ร.บ.แร่ ภาคประชาชน จัดขึ้นมาแล้ว 2 ครั้งคือครั้งแรกที่ จ.ลำปาง( 18 ธันวาคม)  และครั้งที่ 2 ที่จังหวัดอุดรธานี (25 ธันาวาคม)  มีเครือข่ายภาคประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากการทำเหมืองแร่มาเข้าร่วมจากหลาก หลายพื้นที่ อาทิ กลุ่มรักษ์บ้านแหง อ.งาว จ.ลำปาง กลุ่มที่ได้รับผลกระทบจากการทำเหมืองทองในจังหวัดพิจิตร พิษณุโลก  และนครสวรรค์  กลุ่มชาวบ้านในเขตอ.แม่แจ่ม จ.เชียงใหม่ กลุ่มรักษ์แม่สรอย จ.แพร่   กลุ่มรักษ์แม่ถอด จ.ลำปาง  กลุ่มที่ได้รับผลกระทบจากการทำเหมืองโปแตซ อุดรธานี  เป็นต้น "ที่ ผ่านมาความพยายามผลักดันกม.แร่ฯ  โดยกระทรวงอุตสาหกรรม แม้ว่าจะยกเลิกไปแล้วก็ตาม คือความพยายามในการเปิดช่องให้มีการพัฒนาอุตสาหกรรมตั้งแต่ต้นน้ำจนถึงปลาย น้ำมากขึ้น  และหลังจากที่มติค.ร.ม.มีมติให้ถอนร่างไปแล้วก็ตาม  แต่กม.แร่ฯ ปี 2510 ที่บังคับใช้ในปัจจุบันก็ยังมีปัญหาหลายประการ  ตั้งแต่ขั้นตอนสำรวจพื้นที่ การประชาคมหมู่บ้าน  ทำให้เกิดคำถามใหญ่ๆ ว่า ประชาชนจะไปพึ่งใครได้"  เลิศศักดิ์ คำคงศักดิ์  เครือข่ายเหมืองแร่  พูดถึงที่มาของการที่เครือข่ายเหมืองแร่ลุกขึ้นมาผลักดันกม.แร่ฯ ฉบับประชาชน แม้จะเห็นบทเรียนของกฎหมายภาคประชาชนอื่นๆ  เช่นเครือข่ายป่าชุมชนที่ผลักดันกม.ป่าชุมชนมาเป็นเวลายาวนานเกือบ 20 ปี  แต่ก็ยังคงล้มลุกคลุกคลานอยู่ถึงปัจจุบัน  แต่เครือข่ายเหมืองแร่ก็เลือกที่จะผลักดันกม.แร่  เพราะ เป็น อีกทางเลือกหนึ่งที่เครือข่ายบอกว่าจะสามารถช่วงชิงการนิยามความหมายการทำ แร่  รวมถึงการผลักดันให้เกิดกลไก  กระบวนการการทำเหมืองที่มีความรับผิดชอบกว่าที่เป็นอยู่ปัจจุบัน และไม่ใช่การเอาทรัพยากรแร่มาใช้โดยไม่มีการวางแผนรองรับ   ทำไมต้องร่างกม.แร่ภาคประชาชน ใน เวทีระดมความเห็นทั้งสองเวทีมีการพูดถึงสาเหตุที่มาที่ทำให้เครือข่ายต้อง การยกร่าง พ.ร.บ.แร่ฉบับประชาชน  เนื่องจากกฎหมายแร่ที่ใช้กันมาตั้งแต่ปี 2510  เป็นกฎหมายเก่าที่เกิดขึ้นในช่วงแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 1  ที่เน้นการทำอุตสาหกรรมเหมืองแร่มากกว่าจะคำนึงถึงผลกระทบของชุมชน  และสิ่งแวดล้อมก็ยังคงบังคับใช้  และก่อปัญหาต่อชุมชนที่อยู่ใกล้เหมืองอย่างมากในช่วงที่ผ่านมา  ตั้งแต่เริ่มต้นกระบวนการทำเหมือง จนเมื่อทำเหมืองเสร็จไปแล้ว ประชาชนในพื้นที่ก็แบกรับผลกระทบทั้งด้านสุขภาพ  เศรษฐกิจ  สังคม และสิ่งแวดล้อม อ.วิจิต รา  วิเชียรชม  มูลนิธิสถาบันศึกษาเพื่อสังคมที่เป็นธรรม  พูดถึงความจำเป็นที่ต้องผลักดันกม.แร่  ภาคประชาชน  และที่มาของการจัดเวทีดังกล่าวว่า เพราะคิดว่าประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากการทำเหมืองจะมีรูปธรรมปัญหา  ข้อเท็จจริง    เพราะกม.แร่ฉบับ 2510  นั้นออกมาตอนที่ทรัพยากรมีมาก แต่ประชากรน้อย  จึงมีวัตถุประสงค์ที่จะอนุญาตให้เอกชนทำเหมืองแร่เป็นด้านหลัก โดยไม่คำนึงถึงผลกระทบที่เกิดขึ้นกับประชาชน   ที่ผ่านมาก็มีการแก้ไขหลายครั้ง  แต่ครั้งล่าสุดก็พูดถึงการทำเหมืองใต้ดิน  ถ้าดูจากรัฐธรรมนูญ  2540   และรัฐธรรมนูญ  2550  นั้นก็ยังเน้นย้ำเรื่องสิทธิของประชาชนในการมีส่วนร่วมตัดสินใจในการบริหารจัดการทรัพยากรของท้องถิ่น  เช่น ม. 57  บุคคลย่อมมีสิทธิได้รับข้อมูล คำชี้แจง และเหตุผลจากหน่วยงานราชการ รัฐวิสาหกิจ หรือส่วนราชการท้องถิ่นก่อนการอนุญาต หรือดำเนินโครงการกิจกรรมใดที่มีผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตสิ่งแวดล้อม  สุขอนามัย หรือวิถีชีวิต  ม.66 และ 67 ที่พูดถึงสิทธิชุมชน เป็นต้น นอก จากนี้ก็ยังปรากฏข้อเท็จจริงที่ไปกระทบต่อสิ่งแวดล้อม  สุขภาพ  เจ็บป่วย ไม่ได้รับการเยียวยาที่เหมาะสม  ดังนั้นทางมูลนิธิจึงร่วมมือกับเครือข่ายประชาชน มีการวิเคราะห์ร่างพร.บ.แร่ฯในช่วงที่ผ่านมาของรัฐบาลก็พบว่าไม่สอดคล้องกับ รัฐธรรมนูญ จึงพยายามจะหาข้อเสนอของภาคประชาชนที่จะผลักดัน ร่างพ.ร.บ.แร่ของภาคประชาชนให้สอดคล้องกับความต้องการของประชาชน การผลักดันกม.แร่ฯ นั้น  ไม่ได้อยู่ที่พลังของนักวิชาการอย่างเดียว  แต่พลังที่สำคัญคือพลังของประชาชนด้วย หลักการคือเราคำนึงถึงการใช้  และรักษาถึงลูกหลานด้วย ผศ.ดร.นนทวัช ร์  นวตระกูลพิสุทธิ์  นักนิติศาสตร์ที่ยกร่างกม.แร่ฯ จากสถาบันศึกษาเพื่อสังคมที่เป็นธรรม แสดงความเห็นว่าที่ผ่านมาภาครัฐไม่เคยหยุดนิ่งในการผลักดันกม.แร่ฯ   พยายามที่จะเอื้อให้แก่นายทุนมาตลอด   แม้ว่าร่างกม.แร่ที่รัฐเสนอจะตกไปแล้วก็ตาม   ภาวะนี้จึงเป็นโอกาสที่ดี  ในการเสนอร่างของภาคประชาชนขึ้นมาก่อน   การวมตัวของ ประชาชนที่จะต่อสู้กับอำนาจทุนและรัฐ  เพียงแค่การปิดถนนก็ทำได้ยาก  ดังนั้นเราจำเป็นต้องยึดโยงกับกม.  นโยบายด้วยว่า  มันมีปัญหาอย่างไรบ้าง   อะไรคือช่องว่าง ผศ.ดร.นนทวัชร์พูดถึงปัญหาของกม.แร่ปี 2510   ที่บังคับใช้ในวันนี้มีปัญหาอย่างมาก    เป็นเพราะออกในช่วงแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมฉบับที่  1   เป็นช่วงที่ประเทศเปิดให้มีการลงทุนทางเศรษฐกิจ   วัตถุประสงค์ของกม.แร่จึงเน้นที่การลงทุนทำเหมือง  ให้บทบาทภาครัฐเพียงฝ่ายเดียวในการพิจารณาและตัดสินใจเกี่ยวกับการจัดการ ทรัพยากรแร่    เจ้าหน้าที่รัฐเป็นคนที่ตัดสินใจการลงทุนทั้งประเทศ    เปิดประเทศจึงไม่สนใจฟังเสียงประชาชน  ทั้งอนุมัติ  อนุญาตประกอบกิจการเหมืองแร่    ซึ่งในช่วงนั้นสิทธิชุมชนยังไม่เกิดขึ้น ที่ผ่านมากม.แร่ปี 2510   มีการแก้ไขหลายครั้งแรก  ครั้งแรกคือปี  2516    ซึ่งเป็นการแก้ไขเพื่อขยายฐานอำนาจรัฐในการตัดสินใจทำเหมืองแร่อยู่นั่นเอง     มาจนถึงปี  2545    มีการแก้ไขกม.แร่โดยเพิ่มเรื่องการทำเหมืองใต้ดิน  ที่น่าเสียใจคือแก้ไขหลังรัฐธรรมนูญ  2540  ที่พูดถึงเรื่องสิทธิชุมชนชัดเจน    ความต่อเนื่องของอำนาจรัฐคือการผูกขาดอำนาจการตัดสินใจไปเรื่อยๆ   และให้กลุ่มนายทุนเป็นผู้รับผลประโยชน์แต่เพียงฝ่ายเดียว หัวใจ สำคัญอยู่ที่เจ้าหน้าที่รัฐ  ถ้าเจ้าหน้าที่รัฐมีการคุ้มครองสิทธิประชาชนจริงๆ  ก็จะดี  แต่ปัจจุบันภาครัฐนั้นมีความโน้มเอียงไปที่ผู้ประกอบการตลอดเวลา  ปัญหาการละเมิดสิทธิชุมชน  ไม่เคยถูกหยิบยกมาพูดเลยแม้แต่สักครั้งเดียว  มีแต่พูดว่าจะทำอะไรต่อดีเท่านั้นเอง การที่กม.แร่  ปี  2510  ไม่ป็นไปตามรัฐธรรมนูญปี  2540  และ  2550  ก็สะท้อนว่ากม.แร่ฯ นั้นไม่ตอบโจทย์ในปัจจุบันเพราะไม่รับรองสิทธิชุมชน  ดังนั้นจึงเห็นว่ากม.แร่ฯ  นี้จึงต้องยกเลิก  กระทรวงอุตสาหกรรมเห็นประเด็นนี้  จึงออกร่าง พ.ร.บ.แร่ขึ้นมา  (ปัจจุบันตกไปแล้ว)  กระทรวงอุตสาหกรรมมอบให้สถาบันอุดมศึกษาทำการศึกษาวิจัยแล้วยกร่างกม.แร่ฯ นี้ขึ้นมา   และเนื้อหาสาระของงานวิจัยทั้งชิ้นกลับบอกแต่ว่า ภาคประชาชนไม่พร้อม  และยังเขียนด้วยซ้ำว่าไม่ควรให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วม  จนทำให้เห็นธงของงานวิจัยก็เน้นให้ภาคธุรกิจทำเหมืองแร่เป็นไปด้วยความคล่อง ตัว  ตอนแรกก็ชื่นใจว่าร่างกม.แร่ฯ ที่มีการแก้ไขให้สอดคล้องรัฐธรรมนูญ ร่าง ของกระทรวงอุตสาหกรรมมีการแก้ไขใหม่ว่า  คำว่า  "แร่เป็นของรัฐ"  ประการที่สอง  แก้ไของค์ประกอบของคณะกรรรมการแร่  ปรากฏว่าก็ไม่มีภาคประชาชนเข้าไปอยู่ในคณะกรรมการแร่เลย    แต่กลับขยายฐานของหน่วยงานภาครัฐเข้าไป  สาม หลักเกณฑ์การอนุญาตการทำเหมืองสั้นลง   และลดขั้นตอนให้เร็วที่สุด    กล่าวคือแต่เดิมการอนุมัติให้ทำเหมืองแร่ตามกกม.แร่ฯ ปี 2510  นั้นเป็นอำนาจของรัฐมนตรี   ร่างของกระทรวงอุตสาหกรรมก็เหลือเพียงแค่อำนาจของอธิบดีเท่านั้น    แนวความคิดคือทำให้การอนุญาตการทำเหมืองแร่รวดเร็ว และคล่องตัวแก่ผู้ประกอบการให้มากที่สุดนั่นเอง ดัง นั้น คณะกรรมการกฤษฎีกาฯ ก็ถอนเรื่องเพราะไม่สอดคล้องกับรัฐธรรมนูญ    ช่วงนี้จึงเป็นช่วงสูญญากาศที่ภาคประชาชนน่าจะเสนอร่าง พ.ร.บ.แร่ฯ ของเราเองบ้าง  ว่าร่างที่ควรจะเป็นจะมีเนื้อหาอย่างไรบ้าง  เราจำเป็นต้องเสนอให้ภาครัฐเห็นว่าภาคประชาชนต้องการอะไร  เพื่อให้เป็นสัญญาประชาคมของประชาชนทั่วประเทศว่า กม.แร่ฯ  ควรมีมาตรฐาน  ไม่เช่นนั้นภาครัฐก็ยกร่างขึ้นมาแบบเดิมๆ อีก กม.แร่ฯ ปี 2510   เก่า โบราณ เน้นเอาใจแต่นักลงทุน ดร.นนทวัชร์พูดถึงกม.แร่ฯ ปี 2510 ว่าเนื่องจากออกตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจฉบับที่ 1  จึงไม่ชอบด้วย 2  ประการ คือไม่สอดคล้องกับรัฐธรรมนูญ     และยังขาดแผนยุทธศาสตร์การบริหารจัดการแร่อย่างสมดุล และยั่งยืนด้วยเช่น มาตรา 6  วรรค สอง   เป็นหัวใจสำคัญของคำขออนุญาตกิจการเกี่ยวกับแร่  จะเห็นว่าคุณสมบัติของผู้ขอ   หลักเกณฑ์เขาเขียนในตอนท้ายว่าอนุญาตให้เป็นไปตามกฎกระทรวง  ซึ่งก็แสดงให้เห็นว่าหลักเกณฑ์ในการอนุญาตนั้นไม่มีในกม.แร่เลย  แต่กลับไปอยู่ในกฎกระทรวง  กฎกระทรวงเป็นกม.ลูกที่ออกโดยฝ่ายบริหารเพียงลำพัง  นั่นหมายความว่าออกโดยกระทรวงอุตสาหกรรม  ไม่ผ่านรัฐสภา   ซึ่งถือว่าเป็นอันตรายอย่างมาก   เพราะจะเขียนอย่างไรก็ได้ ผลที่ตามมา เช่น กฎกระทรวง ฉ.19  ผู้ขออนุญาต ต้องเป็นสมาชิกของสภาการเหมืองแร่   ตามพ.ร.บ.สภาการเหมืองแร่      ก็เท่ากับว่าประชาชนทั่วไปก็ขออนุญาตไม่ได้  นั่นก็เท่ากับว่าให้สิทธิเฉพาะกลุ่มผู้ประกอบธุรกิจเหมืองแร่  แสดงว่ากม.ของสภาการเหมืองแร่จะใหญ่กว่ากม.แร่ฯ  หรือไม่  สถานะของกม.เอกชนอยู่เหนือกม.มหาชนฯ  และจำกัดสิทธิเสรีภาพในการประกอบอาชีพของประชาชน     ซึ่งสะท้อนความผิดปกติของกม.มหาชน  อย่างมาก ปัญหาต่อมา  กม.แร่ฯ ปี 25 10  คนที่จะอนุญาตเป็นบุคคลธรรมดา  เจ้าพนักงานท้องที่ กับอุตสาหกรรมเหมืองแร่ ซึ่งถือว่าผิดปกติ  การอนุญาตโครงการขนาดใหญ่ที่มีผลกระทบสิ่งแวดล้อม  อย่างน้อยที่สุดต้องให้คนที่จะอนุญาตเป็นกลุ่ม หรือองค์กรขนาดใหญ่กว่านี้ ไม่ใช่แค่บุคคลใด บุคคลหนึ่ง  คณะกรรมการ  ทำหน้าที่ได้แค่ให้คำปรึกษา  แต่คนตัดสินใจในยุคปัจจุบัน   แค่คนใดคนหนึ่ง ไม่ได้แล้ว  การจะอนุญาตต้องให้อำนาจกับกลุ่ม  องค์กรที่มากกว่าแค่บุคคลใดบุคคลหนึ่ง   ไม่เช่นนั้นจะกลายเป็นช่องทางหาประโยชน์ส่วนตัว ประการต่อมา  การรับช่วงประทานบัตร  กม.นี้สามารถโอนการประทานบัตรต่อให้คนอื่นต่อไปได้  ที่น่ากลัวคือในกม.แร่ปี 2510  ไม่เขียนหลักเกณฑ์ในการพิจารณาเลย    ให้ดุลยพินิจของเจ้าหน้าที่รัฐสูงมาก  ถือวาผิดปกติอย่างมาก  การอนุญาตให้ใครรับช่วงการทำเหมืองต่อ   การโอนสิทธิในกฎหมายไม่ได้เขียนหลักเกณฑ์อะไรไว้เลย    ปัญหาที่ตามมาก็เป็นไปได้  ตอนแรกที่ขออนุญาตอาจเป็นคนไทย  แล้วตอนโอน โอนไปให้ต่างชาติก็มี ประเด็น ต่อมาเรื่อง คณะกรรมการ  กฎหมายก็ไม่ได้เขียนคุณสมบัติของผู้ที่จะแต่งตั้งเลย  ก็อยู่ที่ดุลยพินิจของรัฐมนตรีอีก  ก็เท่ากับคณะกรรมการแร่ที่ตั้งขึ้นมาก็เป็นพวกของตนเองอีก  แม้ว่าจะมีบทบัญญัติเรื่องการห้ามทำเหมืองแร่ตามจุดต่างๆ  เช่นใกล้ลำน้ำ  ทางหลวง  แต่ทั้งหมด  ตอนท้ายของ กม.กลับระบุว่า  "เว้นแต่ได้รับอนุญาตจากเจ้าหน้าที่รัฐ"    ไม่มีเกณฑ์การยกเว้น  แต่เป็นดุลยพินิจของเจ้าหน้าที่รัฐอีกแล้ว  นี่ก็เป็นความผิดปกติ ประเด็น สุดท้ายการฟื้นฟูสภาพการทำเหมือง  ผมอยากใช้ภาษา "ขี้แล้วทิ้ง"   ทำไมประชาชนในพื้นที่ต้องมาทำ  ก่อนที่คนทำเหมือง ควรจะมีการวางเงินประกันความเสียหาย  แต่ในปัจจุบันเราจะเห็นว่าในมาตรา 85  กรณีผู้ถือประทานบัตรออกจากพื้นที่ และเจ้าพนักงานไม่สามารถติดต่อ  อย่างนี้จะเป็นไปได้อย่างไรที่เจ้าหน้าที่รัฐจะติดตามไม่ได้  จะเห็นว่ามาตราการทางกฎหมายไม่ตอบโจทย์  แต่ถ้าสร้างระบบคือผู้ลงทุนต้องวางเงินประกันความเสียหาย  เขาจะอยู่หรือไม่อยู่  เราก็มีเงินประกันในการฟื้นฟูพื้นที่ กิจการ เหมืองแร่ฯ นั้นมีชาวต่างชาติมาทำเยอะมาก  ซึ่งผมอยากจะบอกว่า พรบ.แร่ฯ  นั้น  จึงไม่ได้บังคับใช้โดดๆ  ต้องคาบเกี่ยวกับ กม.อื่น ๆ  เช่น กม.สิ่งแวดล้อม  (เพราะต้องทำ EIA  และ HIA  )   กม.ประกอบธุรกิจต่างด้า   นอกจากนี้ กม.แร่ฯ  ณ วันนี้ยังต้องพูดถึงระดับภูมิภาคด้วย  ไม่ได้จำกัดเฉพาะในประเทศด้วย เสนอ ร่าง กม.แร่ ฯ  ภาคประชาชน : รื้อถอนความคิดแบบเก่าๆในเวทีระดมความเห็นได้มีการนำเสนอร่างกม.แร่ฯ ภาคประชาชนที่ทีมนักกฎหมายจากมูลนิธิฯ ยกร่างมา มีเนื้อหาสารที่น่าสนใจดังนี้ ประเด็นหลักการ 1.แร่เป็นของประชาชน และการบริหารจัดการแร่ต้องเป็นไปเพื่อประโยชน์ส่วนรวมของประชาชน และประเทศชาติ 2.การ จัดทำแผนยุทธศาสตร์ทรัพากรแร่ และการบริหารจัดการเกี่ยวกับทรัพยากรแร่โดยรวมของประเทศเพื่อการพัฒนา และสงวนรักษาทรัพยากรแร่อย่างสมดุล และยั่งยืน 3.การ ห้ามทำแร่/ประกอบกิจการเกี่ยวกับแร่ในเขตพื้นที่ป่าสงวน เขตอุทยานแห่งชาติ เขตโบราณสถาน แหล่งมรดกทางธรรมชาติ และศิลปวัฒนธรรม เขตพื้นที่ป่าต้นน้ำ เขตพื้นที่ชุมชนโดยเด็ดขาด 4.การมีส่วนร่วมอย่างแท้จริงของชุมชน ประชาชนในพื้นที่ในการอนุรักษ์ จัดการ และการใช้ประโยชน์เกี่ยวกับแร่ในแต่ละพื้นที่ ส่วนที่สองคือ ขั้นตอนการขออนุญาต และการอนุญาต  ดร.นนทวัชร์ชี้แจงว่าที่ผ่านมาตามกม.แร่ฯ ปี 2510  นั้นให้อำนาจแก่เจ้าหน้าที่รัฐ จึงมีการกำหนดใหม่ในกม.แร่ภาคประชาชนคือเจ้าหน้าที่รัฐจะต้องมี "หน้าที่"  ในการแจ้งให้ประชาชนทราบ   เพราะจะทำให้เกิดความรับผิด   ส่วนต่อมาคือการพิจารณาคำขออนุญาตนั้นที่ผ่านมาการขออนุญาตทำแค่รายงานอีไอเอ  HIA   เท่า นั้น  แต่ กม.แร่ฯ ฉบับประชาชนจะเพิ่มให้ฝ่ายที่จะขออนุญาตต้องทำรายงานผลกระทบเชิงยุทธศาสตร์ เสนอต่อคณะกรรมการแร่ด้วย  รายงานเชิงยุทธศาสตร์จะเป็นภาพรวมที่ทำให้เห็นว่าจะสามารถทำเหมืองแร่ใน พื้นที่ได้หรือไม่  เช่น ถ้ามีการนำทรัพยากรแร่ไปใช้มากแล้ว  เกินขีดก็จะไม่อนุญาตให้ทำ เป็นต้น คณะกรรมการแร่จะประกอบด้วย 3 ฝ่าย คือได้แก่ กรรมการภาครัฐ  ผู้แทนภาคประชาชน และกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ  ซึ่งคณะกรรมการแร่จะมีหน้าที่ในการให้ความรู้กับประชาชน  และประกาศคำขออนุญาต ซึ่งประชาชนมีสิทิที่จะคัดค้านได้ไม่น้อยกว่า 30 วัน นอก จากนี้ประเด็นที่สำคัญของกฎหมายแร่ฉบับภาคประชาชน คือประเด็นเรื่อง "หลักประกันความรับผิดโดยเคร่งครัด"   เพราะข้อเท็จจริงที่ผ่านมา  ประชาชนผู้ได้รับผลกระทบกลายเป็นฝ่ายที่จะต้องพิสูจน์ ผลกระทบของการทำเหมืองเมื่อจะต้องเอาผิดกับผู้ประกอบการ  กฎหมายฉบับนี้ก็จะเปลี่ยนเป็นให้ผู้ประกอบการมีภาระที่จะต้องพิสูจน์  ถ้าหากไม่อยากรับผิด และ ยังกำหนดให้มีการวางเงินประกันความเสียหายของผู้ประกอบการด้วย เพราะเมื่อมีการปิดเหมืองไปแล้ว  บริษัทไม่มีแล้ว    หากมีการวางเงินประกันความเสียหายก็จะสามารถเอาผิดกับผู้บริหาร คณะกรรมการได้ ค่า ภาคหลวงแร่ที่ได้จากบริษัท ที่ผ่านมาเรามีการแบ่งค่าภาคหลวงแร่ให้กับ อบจ. อบต.ทั่วประเทศทั้งๆ ที่ไม่เกี่ยวกับการทำเหมืองเลย   ในกม.แร่ฉบับประชาชนก็จะเน้นว่าค่าภาคหลวงแร่ควรจะสะท้อนกลับมาที่ชุมชนไม่ น้อยกว่าครึ่งหนึ่ง   ตามหลักผู้เสียสละย่อมต้องได้ค่าชดเชยด้วย ภาย หลังจากที่มีการนำเสนอร่างพ.ร.บ.แร่ฉบับประชาชนเป็นการนำร่อง  ในเวทีระดมความเห็นได้แลกเปลี่ยนกันอย่างกว้างขวาง อาทิ ประเด็นเรื่องหลักการว่า แร่ควรเป็นของใคร  กระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชนควรจะรูปแบบอย่างไร  การคัดเลือกคณะกรรมการภาคประชาชนที่เป็นตัวแทนของประชาชนควรจะมีกลไกอะไร บ้างที่ทำให้ได้ตัวแทนของภาคประชาชนจริงๆ ไม่ใช่ตัวแทนของบริษัท  ดังนั้นกระบวนการสรรหาควรมีกรอบที่ชัดเจน รัดกุม มีความเป็นกลาง  และเป็นอิสระ  เป็นต้น เลิศ ศักดิ์ คำคงศักดิ์ จากเครือข่ายเหมืองแร่แสดงความเห็นว่า กรณีการกำหนดเรื่องพื้นที่ใดห้ามทำเหมืองควรจะมีการกำหนดให้ครอบคลุมระบบ นิเวศน์ต่างๆ ที่อยู่ในแต่ละภูมิภาคด้วย เช่น พื้นที่ป่าน้ำซึมน้ำซับที่แม้ไม่ได้อยู่ในพื้นที่ต้นน้ำ  แต่ก็มีความสำคัญกับระบบนิเวศน์  จะจัดอยู่ในพื้นที่แบบไหน  และการบังคับใช้กฎหมายแร่อาจต้องอิงกับกฎหมายฉบับอื่นควบคู่ไปด้วย เช่น กฎหมายผังเมือง เช่นพื้นที่ไหนควรอนุรักษ์ พื้นที่ไหนทำเกษตรกรรม พื้นที่ทำได้ เป็นต้น นอก จากนี้เลิศศักดิ์ยังเห็นด้วยกับการกำหนดแผนยุทธศาสตร์แร่ในกฎหมายแร่ฉบับ ประชาชน  เพราะที่ผ่านมาภาครัฐมีข้อมูลเหล่านี้แต่ไม่เคยเปิดเผยข้อมูลให้ประชาชน ทราบ  เช่นทองคำมีอยู่เท่าไหร่ ใช้ไปแล้วเท่าไหร่ เกิดผลกระทบทางสังคม เศรษฐกิจอย่างไร  ทองคำที่เหลือจะจัดการอย่างไร  ข้อมูลนี้เปิดเผยก็จะทำให้ประชาชนมีส่วนร่วมได้มากขึ้น อย่าง ไรก็ตามก็ยังมีความกังวลของผู้เข้าร่วมบางส่วนที่เห็นว่าการกำหนดแผน ยุทธศาสตร์ต้องทำให้ประชาชนมีส่วนร่วมด้วย ไม่เช่นนั้นอาจจะกลายเป็นการทำให้ภาคธุรกิจนำไปใช้ประโยชน์ได้ เป็นต้น ด้าน นายสมเกียรติ มีธรรม จากอ.แม่แจ่ม  จ.เชียงใหม่ กล่าวว่าสำหรับตนเองก็มีความเป็นห่วงเกี่ยวกับพื้นที่ทำกินของชาวเขา  ซึ่งในกม.แร่ฉบับประชาชนควรมีการระบุไว้ในพื้นที่ที่ห้ามทำเหมืองด้วย  เพราะไม่เช่นนั้นก็อาจมีการละเมิดสิทธิทำกินของประชาชนได้ ส่วน เรื่องการมีส่วนร่วมของประชาชน  หลายๆ  พื้นที่มีความเห็นคล้ายคลึงกันว่า  อปท.ไม่ใช่ตัวแทนของท้องถิ่น  มีข้อเสนอว่าการตัดสินใจไม่ควรสิ้นสุดที่ อปท.  ต้องให้ชุมชนผู้มีส่วนได้เสียมีมติชุมชนออกมาด้วย  อปท.จึงจะตัดสินใจได้ว่าจะอนุมัติ หรือไม่อนุมัติ  นอกจากนี้ยังมีการเสนอว่าค่าภาคหลวงแร่ควรจะนำมาตั้งเป็นกองทุนให้กับชุมชน ที่ได้รับผลกระทบ เป็นต้น ทั้ง นี้ในเวทีระดมความเห็น เห็นว่าร่างกม.แร่ฉบับประชาชนที่ยกร่างมานี้มีเนื้อหาที่สอดคล้องและตรงกับ ความต้องการของภาคประชาชนมากกว่า  แต่ยังต้องการปรับปรุงและระดมความคิดเห็นอีกหลายเวที รวมทั้งการนำข้อเท็จจริงจากพื้นที่มาปรับให้สอดคล้อง และนำไปใช้ได้มากขึ้น.   ที่มา   http://www.prachatham.com/detail.htm?code=a1_27122011_02

Contact Information

  • : มูลนิธิกองทุนไทย Thai Fund Foundation 2044/23 ถ.เพชรบุรีตัดใหม่ บางกะปิ ห้วยขวาง กรุงเทพ 10310
  • : webmaster@thaingo.org
  • : 082 178 3849
  • : www.thaingo.in.th

Thai NGO

ข่าวสารสังคมนอกสื่อกระแสหลัก ข่าวสารความเคลื่อนไหว เกี่ยวกับเอ็นจีโอ ข่าวกิจกรรมเพื่อสังคม งานสัมนา สมัครงานเอ็นจีโอ ร้องเรียน แจ้งข่าว…ประนามประจาน !! ที่ได้รับความทุกข์ร้อนไม่เป็นธรรม