สายน้ำติดเชื้อ โลกในภาพยนตร์ของชาวบ้านคลิตี้ล่าง

1038 20 Apr 2014

16 ปีผ่านไป การฟื้นฟูระบบนิเวศน์ สิ่งแวดล้อม การเยียวยาความเจ็บป่วยทางร่างกาย และจิตใจ ยัง ไม่ถูกแก้ไขให้เสร็จสิ้น ชาวบ้านคลิตี้ล่างจึงมีความต้องการที่จะสื่อสารข้อมูลปัญหาของพวกเขาสู่ สาธารณะ และต่อลมหายใจของ ผู้คน หมู่บ้านและสายน้ำให้กลับมามีชีวิตชีวาอีกครั้งบนวิถีชีวิตความเป็นคน กะเหรี่ยงซึ่งยังดำรงอยู่อย่างมั่นคงชาวบ้านคลิตี้ล่าง “เบิ้ล” นนทวัฒน์ นำเบญจพล ผู้กำกับหน้าใหม่ เขาสร้างภาพยนตร์สารคดี by the river สาย น้ำติดเชื้อเป็นเรื่องราวของชาวคลิตี้ ที่ถ่ายทอดออกมาอย่างเจ็บปวดท่ามกลางธรรมชาติที่สวยงาม ทำให้เขาได้รับรางวัลผู้กำกับหน้าใหม่จากเทศกาลภาพยนตร์นานาชาติ โลคาร์โน ประเทศ สวิตเซอร์แลนด์ ล่าสุด เบิ้ล เป็นที่สนใจจากสังคมอีกครั้งหลังจากที่เขาเป็นเจ้าของรางวัล Special Mention สาย Concorso Cineasti del presente หรือผู้กำกับหน้าใหม่ ในเทศกาลภาพยนตร์นานาชาติโลคาร์โน ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ (Locarno international film festival Switzerland) จากภาพยนตร์สารคดีเกี่ยวกับชาวบ้านคลิตี้ By the River สายน้ำติดเชื้อจากคดีสิ่งแวดล้อมที่ต่อสู้กันในกระบวนการยุติธรรมนานถึง 14 ปี ได้สะท้อนชีวิตประจำวันของชาวบ้านท่ามกลางธรรมชาติที่ปนเปื้อนสารตะกั่วที่ชาวคลิตี้ยากจะหลีกเลี่ยง นนทวัฒน์ นำเบญจพล เผยถึงความสนใจทำเรื่องนี้ ว่า “ตัวเองอยากเล่าเรื่องราวที่เกิดขึ้นจริงสำหรับ หนังเรื่องนี้ร่วมทุนกับไบโอสโคป ไทยพีบีเอส และเซอร์เนด ก็ได้ทุนมาก้อนหนึ่งแต่เนื่องจากว่าระยะเวลาทำน้อย จึงต้องจัดการกองถ่ายโดยแบ่งถ่าย 2 รอบ รอบแรกคือเดือนธันวาคม 2555 ไปถ่ายประมาณ 7 วัน ซึ่งคิดว่าถ่ายเสร็จแล้วกลับมาตัดต่อว่าขาดเหลืออะไรแล้วค่อยไปถ่ายอีกรอบหลังปีใหม่ โดย หนังเรื่องนี้จะโฟกัสไปที่ช่วงวัยต่างๆ ของคนในหมู่บ้านตั้งแต่วัยรุ่น วัยหนุ่ม-สาว และวัยแก่ ซึ่งจะได้เห็นความเปลี่ยนผ่านของช่วงเวลา ผ่านจุดวิกฤติ และผ่านผู้คนได้ด้วย คือถ้าไปถ่ายผู้ใหญ่ที่ได้รับผลกระทบโดยตรงเมื่อ 15 ปีที่แล้วซึ่งตะกั่วลงมารุนแรงมาก จะเห็นชัดว่าคนรุ่นนั้นมีความพิการเยอะ เช่น หน้าเบี้ยว ตาบอด ส่วนวัยหนุ่มสาวก็เป็นกลุ่มที่ทันเห็นเหตุการณ์นั้นตอนเด็กๆ และเด็กรุ่นใหม่ที่เกิดมาพร้อมกับตะกั่ว ซึ่งจะโฟกัสไปที่ชีวิตประจำวันของแต่ละคนที่น่าสนใจคือ หมู่บ้านนี้อยู่ในป่าลึกไม่มีไฟฟ้าไม่มีมือถือไม่ค่อยมีสิ่งอำนวยความสะดวก อะไรและเขาห่างไกลจากซูเปอร์มาร์เก็ตจึงดำรงชีวิตอยู่ใต้สายน้ำคลิตี้ของ หมู่บ้านซึ่งกิจวัตรของทุกคนคือเช้ามาผู้ชายก็ไปหาปลาในลำห้วยมาให้คนในบ้าน ซึ่งน้ำในลำห้วยตอนนี้ใสแล้ว เพราะเหมืองปิดไป 14 ปีแล้ว ก็ได้ภาพ ป่าเขา ลำเนาไพร ที่สวยมากแต่ถ้าไปตรวจเลือดของชาวคลิตี้ก็จะพบว่าเลือดของทุกคนปนเปื้อนสาร ตะกั่ว ปลาก็เป็นสัตว์ที่มีตะกั่วสะสมเยอะ ปัญหาเรื่องลำห้วยคลิตี้ กรมควบคุมมลพิษระบุว่าห้ามน้ำนำไปใช้ดื่ม แม้แต่สัตว์น้ำยังห้ามนำไปรับประทาน หนัง เรื่องนี้เป็นสารคดีที่นำเสนอเสมือนว่าเป็นเรื่องแต่ง ทั้งๆ ที่เป็นเรื่องจริงทั้งหมด สถานการณ์จริงทั้งหมด แต่เหมือนกับว่าดูหนังเรื่องหนึ่ง เพราะไม่มีการสัมภาษณ์ผู้คนไปเรื่อยๆ เหมือนสารคดีทั่วๆ ไป ดังนั้นจึงเลือกเทศกาลฉายหนังที่ดีที่สุดก็คือ Locarno international film festival ที่สวิตเซอร์แลนด์ซึ่งเน้นหนังศิลปะ หนังทดลอง หนังแปลกใหม่ โล คาร์โน ก็เป็นที่แรกที่ได้ไปฉาย หนังมันบางมากเนื่องจากเป็นชีวิตของชาวบ้าน คลิตี้เท่านั้น ที่ตื่นขึ้นมาคุยกันหาปลาเอาปลามาทำอาหารกินที่บ้านแล้วพระเอกก็ตายไปกลาย เป็นเรื่องเศร้าแต่ฝรั่งเขาบอกว่าพอดูแล้วเขาเจ็บปวดมากเพราะว่าชาวบ้านจำ เป็นต้องใช้ชีวิตอยู่ในบริเวณนี้ทั้งๆ ที่มีเหตุการณ์ตะกั่วปนเปื้อนในแหล่งน้ำซึ่งเป็นเรื่องเศร้าบวกกับภาพ ธรรมชาติที่สวยมากแต่ท่ามกลางธรรมชาติที่สวยงามกลับฉาบไปด้วยตะกั่ว ใน ที่สุดก็ได้รับรางวัลมา อย่างคนกรุงเทพฯ จะรู้สึกว่าเหตุการณ์ที่คลิตี้เป็นเรื่องไกลตัวจึงเลือกดูมายาและสิ่งที่สวย งามกันก็สงสัยอยู่เหมือนกันว่าถ้าฉายในโรงภาพยนตร์จริงๆ จะมีคนดูไหม ตะกั่ว เป็นแร่เศรษฐกิจของประเทศชาติแต่กลับส่งผลกระทบต่อคนกลุ่มเล็กๆ และเมื่อเกิดปัญหาแล้วคนกลุ่มนี้ก็ไม่ได้รับการเยียวยาและการดูแลรักษาเท่า ที่ควร และคนกรุงเทพฯ ไม่สนใจอะไรเขาเลย พยายามกระตุ้นให้รู้ว่าโลกเราหรือประเทศเราไม่ได้มีอยู่แค่กรุงเทพฯ เท่านั้น แต่มันมีคนอื่นๆ ที่อื่นๆ ด้วย อยาก ให้ผู้ประกอบการบริหารจัดการที่รัดกุมยิ่งขึ้น ซึ่งปัญหาการทิ้งของเสียเหล่านี้ยังคงเกิดขึ้นเรื่อยๆ ในสังคมไทย เอาความรับผิดชอบไปกองไว้ให้คนอื่น เช่น ทำหลุมขยะข้างบ้านคนอื่น ฯลฯ บางครั้งเราก็มองภาพรวมว่าผู้ประกอบการเขาทำธุรกิจ ซึ่งก็อยากให้เขาเห็นว่าคนที่อยู่ตรงนั้นจริงๆ เขาได้รับผลกระทบอะไรบ้าง ถ้าเขาได้ดูก็น่าจะฉุกคิดได้เหมือนกัน” นนทวัฒน์ นำเบญจพล ผู้กำกับมือใหม่ไฟแรงกล่าว   พิษณุพร ขันพรหมมา ทีมงานไทยเอ็นจีโอ รายงาน

Contact Information

  • : มูลนิธิกองทุนไทย Thai Fund Foundation 2044/23 ถ.เพชรบุรีตัดใหม่ บางกะปิ ห้วยขวาง กรุงเทพ 10310
  • : webmaster@thaingo.org
  • : 082 178 3849
  • : www.thaingo.in.th

Thai NGO

ข่าวสารสังคมนอกสื่อกระแสหลัก ข่าวสารความเคลื่อนไหว เกี่ยวกับเอ็นจีโอ ข่าวกิจกรรมเพื่อสังคม งานสัมนา สมัครงานเอ็นจีโอ ร้องเรียน แจ้งข่าว…ประนามประจาน !! ที่ได้รับความทุกข์ร้อนไม่เป็นธรรม